” เห็ดหลินจือ ต้านมะเร็ง ” ได้จริงหรือ? รู้ครบ 15 ข้อ สบายไปอีก 15 ปี

reishimushroomelite-unnamed
reishimushroomelite-เห็ดหลินจือ

” เห็ดหลินจือ ต้านมะเร็ง ” ได้จริงหรือ? รู้ครบ 15 ข้อ สบายไปอีก 15 ปี

” เห็ดหลินจือ ต้านมะเร็ง ” ได้จริงหรือ? รู้ครบ 15 ข้อ สบายไปอีก 15 ปี

เห็ดหลินจือ ราชาสมุนไพรต้านมะเร็ง 15 คำถามคาใจ มันช่วยได้จริงเหรอ ??? เราหลายคนคงได้ยินชื่อของเห็ดชนิดนี้มาหลายครั้ง และได้รับรู้ว่ามันมีประโยชน์มากมายมหาศาล แต่จากคำบอกเล่าเหล่านั้น คุณอาจได้รับรู้บางสิ่งที่ผิดออกไป

ทั้งประโยชน์ และวิธีการทาน หรือการหาซื้อเห็ดหลินจืออย่างเหมาะสม เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ทุกคนมาความ รู้จักเห็ดหลินจืออย่างละเอียด เพื่อให้ได้ประโยชน์กับสุขภาพ มากที่สุด

เห็ดหลินจือ คือ

1.เห็ดหลินจือ คืออะไร ?

เห็ดหลินจือ คืออะไร เห็ดหลินจือ หรือ หลิงชิง เป็นชื่อเรียกในประเทศจีน ซึ่งแปลเป็นไทยว่า สุดยอดแห่งต้นไม้วิเศษ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma lucidum อยู่ในวงศ์ Basidiomycota ส่วนชื่อสามัญ คือ Lingzhi mushroom หรือ Reishi mushroom

เป็นเห็ดกระด้างที่มีลักษณะคล้ายเนื้อไม้ พบได้ทั่วไปตามท่อนไม้ผุที่มีความชื้นสูง ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสร้างอาหารจากการสังเคราะห์แสงได้ แต่ใช้วิธีสร้างเอนไซม์ย่อยสลายเนื้อไม้เพื่อนำมาเป็นอาหารแทน

เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคภัยต่างๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะที่เด่นที่สุดคือ การต่อสู้กับโรคมะเร็งเสริมภูมิต้านทานช่วยบำรุงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เห็ดหลินจือ มีลักษณะอย่างไร

2. เห็ดหลินจือ มีลักษณะอย่างไร ?

เห็ดหลินจือมีลักษณะเฉพาะ ที่ไม่เหมือนเห็ดอื่นๆ ได้แก่

– เส้นใย ของเห็ดหลินจือ เป็นสีขาวละเอียด และมีขนาดเล็ก มีจำนวนมากเรียงตัวกันหนาแน่น เมื่ออยู่ในช่วงที่โตเต็มที่จะมีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ ยื่นออกไป เพื่อกลายไปเป็นดอกเห็ดในอนาคต

– ดอกเห็ด ของเห็ดหลินจือ มีด้วยกัน 2 แบบ คือ ดอกเดี่ยว และดอกกลุ่ม มีส่วนประกอบของหมวก และก้าน หมวกจะมีลักษณะกลม หรือบางครั้งจะแผ่ออกคล้ายพัด ดอกอ่อนมีสีขาว ดอกแก่มีลักษณะงุ้มลงบริเวณหมวกดอก มีสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง เนื้อเห็ดมีลักษณะแข็งเป็นสีขาว ผิวมันเป็นเงา บริเวณด้านล่างคล้ายฟองน้ำมีรูเล็กเป็นจำนวนมาก ไม่มีคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์แสงเองไม่ได้

– สปอร์ ของเห็ดหลินจือ อยูบริเวณใต้หมวกของดอกภายในรูเล็กๆ อาศัยเพศในการขยายพันธุ์ สปอร์มีลักษณะรี สีน้ำตาล แต่หากว่าไม่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ทำโดยการหักเส้นใยแล้วบริเวณที่ถูกหักจะเติบโตเป็นเห็ดดอกใหม่

– ก้านดอก ของเห็ดหลินจือ มีขนาดสั้น บางดอกไม่มีก้านเลย มีหน้าที่ช่วยลำเลียงสารอาหาร และพยุงหมวกดอก มีสีน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลดำ

– ฐานดอก ของเห็ดหลินจือ มีลักษณะแผ่เล็กน้อย เป็นจุดที่รวมเส้นใย

เห็ดหลินจือ ต้นกำเนิด จีน

3. เห็ดหลินจือ ความเชื่อ ต้นกำเนิด จากเมืองจีน ???

เห็ดหลินจือ ถือได้ว่าเป็นสมุนไพรจากแผ่นดินจีน เป็นยาจีนชั้นสูงมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ สายพันธุ์ที่นิยมนำมาทานเพื่อบำรุงร่างกายมากที่สุดคือ เห็ดหลินจือแดง ในประเทศจีนถูกใช้เป็นยามากว่า 2,000 ปีแล้ว

เพื่อนำมารักษาโรคตับ, ตับอักเสบเรื้อรัง, ความดันโลหิตสูง, ไตอักเสบ, โรคประสาทที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง, ข้ออักเสบ, โรคหืด, หลอดลมอักเสบ, โรคนอนไม่หลับ และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ในเอกสารของจีนโบราณชื่อ เบน เกา คาง มู้ (Ben Cao Gang Mu ค.ศ. 1578)

กล่าวถึงการนำเห็ดหลินจือไปปรุงเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย ทำให้เห็ดหลินจือ ถูกเรียกโดยอีกชื่อหนึ่งว่า สมุนไพรจักรพรรดิ ถูกยกย่องว่าเป็นยอดเห็ด เป็นสุดยอดแห่งสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกในคัมภีร์ “เสินหนงเปินเฉ่า”

ในเห็ดหลินจือ มีสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า 250 ชนิด และมีสาระสำคัญอย่าง พอลิแซ็กคาไรด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญในการช่วยยับยั้ง และรักษาอาการต่างๆ เห็ดหลินจือ มีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีสารพอลิแซ็กคาไรด์มากน้อยแตกต่างกันไป

เห็ดหลินจือ ประโยชน์

4. เห็ดหลินจือ มีสารอะไรบ้างที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ?

โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) มีมากกว่า 200 ชนิด ช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็ง ช่วยให้ร่างกายเพิ่มความสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด ฟื้นฟูสุขภาพ บำรุงไต

เจอร์มาเนียม (Germanium) สารตัวนี้จะพบมากในดอก และราก ช่วยต่อต้านมะเร็ง บำรุงร่างกาย ขจัดสารพิษ ต่อต้านมะเร็ง เพิ่มออกซิเจนในเลือด ช่วยระบบการไหลเวียนของเลือดให้ทำงานดีมากขึ้น กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย พบมากในดอกและราก

ไตรเทอร์ปินอยด์ (Triterpenoids ) สารตัวนี้มีหลายชนิดเช่น กรดกาโนเดอริค และกรดลูซิเดนิก ซึ่งทั้งหมดพบในเห็ดหลินจือ ช่วยบำรุงร่างกาย และเด่นในเรื่องฟื้นฟูตับเป็นพิเศษ จึงมีการนำมาใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ

นิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) ช่วยในการทำงานระบบทางเดินเลือด และหัวใจ ไม่ให้เกิดการอุดตัน กระตุ้นการไหลเวียนเลือด

เออร์โกสเตอรอล (Ergosterol) ช่วยให้กระดูก และฟันแข็งแรง

เห็ดหลินจือ สรรพคุณเด่น

5. เห็ดหลินจือ สรรพคุณเด่น กับงานวิจัยทางการแพทย์ มีอะไรบ้าง

เห็ดหลินจือ ถูกใช้เป็นยามานานมาก จนในที่สุดก็มีองค์กรทางการแพทย์มากมายนำมาวิจัยเพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจน ทำให้พบว่าในเห็ดหลินจือนั้นมีสาระสำคัญมากมายหลายอย่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

จุดเด่นที่สุดคือเห็นหลินจือมีสารสารพอลิแซ็กคาไรด์ที่ช่วยต้านมะเร็งอย่างเห็นผลโดยไม่มีผลข้างเคียง สารพอลิแซ็กคาไรด์ที่พบในเห็ดหลินจือ ได้ถูกวิจับพยว่าเหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทยอย่างมาก สามารถนำมาเพราะปลูกได้จนเกิดเป็นอาชีพขึ้นมากมาย และเกิดเป็นโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

เห็ดหลินจือ ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

6. เห็ดหลินจือ ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เกิดขึ้นจากสายพระเนตรอันยาวไกลของในหลวง ที่ได้รับรู้ว่าเห็ดหลินจือมีประโยชน์อันมหาศาล แต่ว่ามีราคาแพงเพราะต้องสั่งจากประเทศจีน จึงได้ก่อตั้งการเพราะปลูกขึ้นในปี พ.ศ. 2531

เป็นการเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์ G2 (Ganoderma Lucidum 2) และสายพันธุ์ G9 จากนั้นได้มีการนำมาแปรรูป เช่น เห็ดหลินจือสกัดบรรจุแคปซูล, น้ำเห็ดหลินจือ , เห็ดหลินจือชนิดผงสามารถชงดื่มกับน้ำได้ , เม็ดอมเห็ดหลินจือ และอีกมากมาย และมีการตอบรับจากภาคประชาชนที่ดีมาก

ประโยชน์ของเห็ดหลินจือ

7. ประโยชน์ของเห็ดหลินจือ

– บำรุงร่างกายเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันทำให้แข็งแรงทำให้อายุยืนยาว ชะลอแก่ ชะลอวัย
– บำรุงผิวพรรณให้สดใส เปล่งปลั่ง
– บำรุงสายตา และช่วยรักษาอาการทางสายตาเบื้องต้น
– บำรุงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ป้องกันโรคหัวใจอุดตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต
– ช่วยการทำงานของระบบการไหลเวียนของเลือด รักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ลดความดันโลหิตปรับความดันโลหิตให้สมดุล
– มีส่วนช่วยในการจำ เพราะว่าผ่อนคลายระบบประสาท และกล้ามเนื้อ รักษาโรคประสาท
– รักษาสมดุล และช่วยเพิ่มในการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ
– กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวสร้างสารต้านมะเร็ง
– ช่วยแก้พิษจากการรักษาทางการแพทย์โดยการใช้รังสี เช่น การทำคีโม หรืออาการท้องเสียอักเสบจากการฉายรังสี
– ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
– ช่วยลดไขมันในเลือด
– ช่วยรักษาโรคหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาท
– ควบคุมอาการเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
– ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหอบหืด
– บำรุงตับและรักษาโรคตับ ตับแข็ง ตับอักเสบ
– บำรุงไต
– รักษาโรคลมบ้าหมู
– แก้อาการอาหารเป็นพิษ
– ช่วยแก้อาการหูอื้อเมื่อขึ้นที่สูง
– แก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก
– รักษาโรคเกาต์
– ยับยั้ง ไวรัสเอดส์ อีสุกอีใส งูสวัดโรคลูปัส อีริทีมาโตซัสทั่วร่าง
– รักษาโรคที่เกิดจากร่างกายขาดออกซิเจน เส้นเลือดหัวใจตีบ ถุงลมโป่งพอง
– ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ
– รักษาโรคริดสีดวงทวาร
– ขับปัสสาวะ
– รักษาแผลในลำไส้ และกระเพาะอาหาร
– บรรเทาอาการปวดประจำเดือน
– ป้องกันการเสื่อมสรรถภาพทางเพศ

เห็ดหลินจือ ข้อแนะนำในการรับประทาน

8. เห็ดหลินจือ ข้อแนะนำในการรับประทาน

การทานเห็ดหลินจือ ควรทานในขณะท้องว่าง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ หรือจะทานควบคู่กับวิตามินซีเพื่อช่วยเพิ่มคุณสมบัติของเห็ดหลินจือก็ได้เช่นกัน ส่วนใหญ่นิยมทานในรูปแบบผง หรือแคปซูล ที่ถูกสกัดมาแล้วเพราะว่าร่างกายสามารถดูดสารต่างๆ ในเห็ดหลินจือได้ง่าย และรวดเร็ว

ผู้ที่ไม่ควรทานคือ ผู้ที่กินยากดภูมิต้านทาน , ผู้ป่วยโรค SLE และคนที่ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ

เห็ดหลินจือ เหมาะกับผู้สูงอายุมากที่สุด ในการรับประทานทานครั้งแรกางคนร่างกายอาจต้องการการปรับตัว ซึ่งอาจะทำให้เกิดอาการ มึนหัว และปวดตัว นั่นเพราะว่าพิษต่างๆ กำลังถูกขับออกจากร่างกาย

– ในส่วนของคนที่เป็นโรคเบาหวานอาจจะเกิดการขับปัสสาวะบ่อย
– ผู้ที่ที่เป็นโรคเกาต์อาจมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น
– ผู้ที่เป็นโรคไตอาจปวดเมื่อยตามข้อ

*** ซึ่งการทั้งหมดนี้เป็นผลจากการที่ร่างกายกำลังปรับสมดุล และกำลังฟื้นตัว

เห็ดหลินจือ ผลิตภัณฑ์แปรรูป

9. เห็ดหลินจือ ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น

เห็ดหลินจือ สามารถนำมาทานได้หลายแบบ เช่น การต้มแบบโบราณแต่จะเสียเวลาในขั้นตอนการทำ , การนำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล แต่อาจมีเชื้อราปนเปื้อนเนื่องจากไม่ผ่านฆ่าเชื้อ และร่างกายดูดซึมได้ยาก , สารสกัดเป็นแคปซูลที่ได้มาตรฐานการผลิตร่างกายดูดซึมได้ไวจึงนิยมมากที่สุด

1. เห็ดหลินจืออบแห้ง โดยส่วนมากแล้วจะมากันเป็นดอกๆ เลยทีเดียว หรือในบางครั้งจะมาเป็นผง ซึ่งเราสามารถนำมาชงน้ำดื่มได้เลย
2. เห็ดหลินจือสกัด ที่มีส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกายเช่น ชา น้ำเห็ดหลินจือ หรือแบบที่สกัดมาเป็นแคปซูลแบบเฉพาะ

การเลือกซื้อเห็ดหลินจือ

10. การเลือกซื้อเห็ดหลินจือ

การเลือกซื้อเห็ดหลินจือ นั้น ในท้องตลาดตอนนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้ผู้ขายหลายเจ้า ซึ่งแต่ละเจ้าก็มีคุณภาพแตกต่างกันไป ในวิธีเลือกซื้อนั้น เราควรเลือกที่บรรจุภัณฑ์ เพราะเราไม่สามารถตรวจดูได้ถึงการเพาะเลี้ยงที่มีคุณภาพ ควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกันความชื้นได้เป็นอย่างดี เพราะว่าเห็ดหลินจือจะขึ้นราง่าย ไวต่อความชื้นอย่างมาก

เห็ดหลินจือ วิธีรับประทาน

11. เห็ดหลินจือ วิธีรับประทานแบบทำเองได้ที่บ้าน

1. นำดอกเห็ดหลินจือมาฝานบาง ๆ ประมาณสัก 2-3 ชิ้น

2. ต้มในน้ำสะอาดจนเดือดนานประมาณ 10-15 นาที

3. สามารถใช้ดื่มแทนน้ำได้ตลอดเวลา

มีฤทธิ์ช่วยให้คืนความสดชื่น เสริมภูมิต้านทานต่างๆ ควรดื่มตอนท้องว่างจะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด หรือทานตอนเช้า หรือก่อนเข้านอนก็ได้เช่นกัน

เห็ดหลินจือ มีผลข้างเคียงไหม

12. เห็ดหลินจือ มีผลข้างเคียงไหม ?

ถึงแม้ว่าในงานวิจัยจะไม่พบผลข้างเคียงใดๆ จากการรับประทานทานเห็ดหลินจือ แต่ว่าในผู้ป่วยที่ต้องทานยาประจำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการทานเห็ดหลินจือ เพราะว่าในเห็ดหลินจือนั้นจะมีสารกำมะถันทองแดง และสเตียรอยด์แบบธรรมชาติ

จึงอาจทำให้บางรายเกิดผลข้างเคียงเช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือในบางรายอาจมีอาการแพ้เห็ดทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่น คอแห้ง ปากแห้ง เลือดกำเดาไหล ปวดท้อง ปวดหัว หากพบอาการเช่นนี้ไม่ควรทานเห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ ผู้ที่ไม่ควรทาน

13. เห็ดหลินจือ ผู้ที่ไม่ควรทาน !

1. สตรีมีครรภ์ และแม่ที่ให้นมบุตร ถึงแม้จะมีการวิจัยมากมาย และยังไม่พบผลร้ายใดๆ ต่อร่างกาย แต่ยังไม่มีงานวิจัยไหนยืนยันได้ว่าจะมีผลต่อ สตรีมีครรภ์ และแม่ที่ให้นมบุตร หรือไม่ เพราะฉะนั้นเราจึงควรเลี่ยงช่วงนี้ไปก่อน

2. ผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือเกล็ดเลือดต่ำ เพราะเห็ดหลินจือจะช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้นส่งผลมีเลือดออกได้ง่ายกับร่างกายของผู้ป่วยที่ทานเห็ดหลินจือมากจนเกินไป

3. ผู้ป่วยที่กำลังจะผ่าตัด ควรพักผ่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะร่างกายในช่วยพักฟื้นอาจส่งผลให้เลือดออกได้ง่าย

4. ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิต้านเนื้อเยื่อของตนเอง เช่น โรคลูปัส , เอสแอลอี , แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง เพราะเมื่อทานเข้าไปจะ ทำภูมิคุ้มกันเหล่านี้แข็งแรงมากขึ้น และจะยิ่งส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติมากขึ้น

5. ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เพราะฤทธิ์ของเห็ดหลินจือจะไปล้าง และขัดขวางฤทธิ์ของยากดภูมิคุ้มกัน

ประโยชน์มากมายจากเห็ดหลินจือ ถ้าเราทานให้เป็น และรับรู้ถึงรายละเอียดของมัน เพียงเท่านี้ก็สามารถทานได้อย่างสบายใจหายห่วง และเสริมสร้างร่างกาย ป้องกันโรคภัยได้มากมาย นี่คือพรที่ดีที่สุดเพราะการไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ

คุณค่าทางอาหารเห็ดหลินจือ

14.คุณค่าทางอาหารเห็ดหลินจือ

1. เปอร์เซ็นต์ที่ตรวจพบใน 100 กรัม

– น้ำ (Water content) 6.9 %
– โปรตีน (Protein) 26.4%
– ไขมัน (Fat) 4.5 %
– เส้นใย (Fiber) 0.1 %
– เถ้า (Ash) 19.0 %
– คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) 43.1 %
– โพลีแชคคาไรด์ (Polysacharide) 11.4 %

2. ปริมาณที่ตรวจพบใน 100 กรัม

– แคลเซียม 832 มก.
– ฟอสฟอรัส 1,030 มก.
– เหล็ก 82.6 มก.
– แมกนีเซียม 1,030 มก.
– โซเดียม 375 มก.
– โปรแตสเซียม 3,590 มก.
– วิตามิน บี 1 3.49 มก.
– วิตามิน บี 2 17.1 มก.
– วิตามินบี 6 0.71 มก.
– โคลีน 1,150 มก.
– ไนอาซิน 61.9 มก.
– อินโนซิตอล 307.0 มก.

ชนิดเห็ดหลินจือ

15.ชนิดเห็ดหลินจือ แยกตามสีดอก

ดอกสีเขียว (ชิงจือ) มีรสขมเล็กน้อย พบบริเวณพื้นที่อากาศหนาว ใช้ป้องกัน และรักษาโรคหัวใจ
ดอกสีแดง (ฉื้อจือ/ต้นจืน) มีรสขม ใช้บำรุงบำรุงหัวใจ ใช้ป้องกัน และรักษาโรคระบบประสาท และสมอง โรคเบาหวาน ลดอาการภูมิแพ้ และลดอาการแน่นหน้าอก
ดอกสีเหลือง (หวงจือ/จีนจือ) มีรสหวานจืด ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงประสาท และบำรุงระบบขับถ่าย
ดอกสีขาว (ไป่จือ/วีจือ) มีกลิ่นฉุน ขมเล็กน้อย ใช้รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ
ดอกสีดำ (เฮจือ/เสียนจือ) มีรสเค็มเล็กน้อย ไม่มีรสขม ใช้บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ไต และช่วยขับปัสสาวะ
ดอกสีม่วง (จื่อจือ) มีรสขมเล็กน้อย ใช้รักษาโรคระบบข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อที่มีการอักเสบ

อ้างอิง
นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. (2556). เห็ดหลินจือ จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์.
สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561,
จาก www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/researchknowledge/article/19/เห็ด
หลินจือจากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์
นิวัฒน์ ศิตวัฒน์, และ คณะ. (2060). เห็ดหลินจือสรรพคุณและประโยชน์ของเห็ดหลินจือแดง 40.
สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561, จาก medthai.com/เห็ดหลินจือ/
วิชาญ เอียดทอง. (2546,สิงหาคม). เห็ดหลินจือ: ยาอายุวัฒนะของชาวจีนและญี่ปุ่น.
แอดวานซ์ ไทยแลนด์ จีโอกราฟฟิค. 9(66) : 60-62. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561,
สมยศ กิตติมั่นคง. (2560, มีนาคม-เมษายน). เห็ดหลินจือมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคได้จริงหรือ.
กรมการแพทย์. 42(2): 22-23. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561,
Puechkaset. (2560). เห็ดหลินจือ และการเพาะเห็ดหลินจือ. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2561,
จาก puechkaset.com/เห็ดหลินจือ/

แชร์บทความนี้

Share on Facebook
Share on Twitter
Share on Linkdin
Share on Pinterest

แสดงความคิดเห็น

บทความอื่นๆ