กระดูกพรุน โรคร้ายวัยชรา 5 การป้องกัน | รู้แล้วรับมือที่ถูกวิธี
กระดูกพรุน โรคร้ายวัยชรา 5 การป้องกัน รู้แล้วรับมือที่ถูกวิธี อาการกระดูกพรุน กระดูกเปราะ เป็นโรคยอดนิยมของคนในวัยสูงอายุ ซึ่งอาการที่เราเห็นก็จะแตกต่างกัน เช่น บางคนอาจจะหลังค่อม เพราะมวลกระดูกที่น้อยลง จนไม่สามารถรักษารูปร่างเอาไว้ได้ บางคนอาจจะกระดูกหักได้ง่ายมากขึ้น ทั้งที่หกล้มแค่เล็กน้อยเท่านั้น
ซึ่งผลเสียของอาการกระดูกพรุนก็คือ อาจจะทำให้ผู้ป่วยต้องกลายเป็นคนป่วยติดเตียงได้ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และสำหรับ การป้องกัน และรับมือกับอาการของโรคกระดูกพรุน สามารถทำได้ ดังนี้
1. งดการดื่มน้ำอัดลม และอาหารที่ทำให้การสลายแคลเซียมเร็วขึ้น
การดื่มน้ำอัดลม นอกจากจะส่งผลเสียต่อกระดูก แล้ว ยังอาจจะทำให้น้ำหนักของผู้สูงอายุมากขึ้น จนกระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักของร่างกายได้ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ หรือสุรา ก็ควรงดเช่นเดียวกัน เพราะจะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดี เท่าที่ควร
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายเบาๆ ในช่วงค่ำ หรือตอนเช้า นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว การได้รับแสงแดด ยังเป็นการนำเอาวิตามินดี มาช่วยในการสังเคราะห์แคลเซียม ให้กับร่างกายอีกทางหนึ่งด้วย ช่วยให้กระดูกของเรามีโอกาสสูญเสียแคลเซียมที่ช้าลง
3. กินอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม
เช่น นม ปลาขนาดเล็ก และผักบางชนิด รวมไปถึง ควรเลือกอาหารเสริมที่มีปริมาณแคลเซียมสูงมารับประทานช่วยอีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็ดหลินจือ ซึ่งมีงานวิจัยรับรองแล้วว่า ช่วยลดการเสื่อมสลายของแคลเซียมในร่างกายได้เป็นอย่างดี และช่วยให้ร่างกายของเรามีฮอร์โมนที่ใช้ในการสังเคราะห์วิตามินดี เพื่อสร้างแคลเซียมได้อย่างเหมาะสม
4. อย่าให้เกิดการหกล้ม
เพราะกระดูกของผู้สูงอายุนั้น มีมวลค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว หากหกล้มการฟื้นฟูจะทำได้ยากกว่าในวัยหนุ่มสาว ที่สำคัญ คือ การหกล้มอาจจะทำให้ผู้สูงอายุ บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตได้ง่าย กว่าคนทั่วไปอีกด้วย
5. ปรึกษาแพทย์ เพื่อรับยาสำหรับป้องกันอาการกระดูกพรุน
นอกจากนี้แล้ว ควรพบแพทย์เป็นประจำ หากพบว่ากระดูกของตนเองเริ่มจะมีปัญหา เช่นมีอาการปวด หรือกระดูกหักง่ายกว่าปกติ เพราะแพทย์จะได้พิจารณาให้อาหารเสริมแคลเซียม หรือยาสำหรับป้องกันอาการของโรคกระดูกพรุนได้ทันท่วงที
เพียงเท่านี้ปัญหากระดูกพรุนก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป เพราะเพียงแค่เราดูแลร่างกายอย่างเสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้กระดูกของเรามีความแข็งแรงเหมือนวัยหนุ่มสาวได้อย่างไม่ยากนัก
ที่มา
จดหมายข่าวองค์การอนามัยโลก
www.sanook.com/health/